Deal of The Day !!!

[Review] รีวิว Onkyo HT-S3700 ชุดโฮมเธียเตอร์เล็กๆราคาสุดคุ้ม

http://goo.gl/xaT2hz

     ตลาดคอนโดมิเนียมกำลังเติบโตถึงขีดสุดหลายคนได้ซื้อหาจับจองเป็นเจ้าของกันอย่างมากมาย เชื่อว่าหลายๆท่านอยากจะมีชุดโฮมเธียเตอร์เล็กๆสักชุดนึงไว้ดูหนังฟังเพลงในคอนโดแต่งบประมาณก็มีไม่มากนัก วันนี้เราจะมารีวิวเจ้า ชุดโฮมเธียเตอร์เล็กๆราคาเบาๆอย่างเจ้า Onkyo HT-S3700 กันให้ฟัง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อชุดโฮมเล็กๆสักชุดนึงมาไว้ประดับบ้านใหม่ครับ

http://smarturl.it/partch
 
Onkyo HT-S3700 เป็นแอมป์ขนาดเล็กที่มีกำลังขับ 120w/ch ที่ 6 โอห์ม 5.1 channel มาพร้อมกับ 6 hdmi input และ 1 output ถอดรหัสเสียง Dolby True-HD และ DTS Master Audio ได้ อีกทั้งยังมีช่องเสียบ USB สำหรับเล่นเพลงจากแฟลชไดรฟ์และยังมี bluetooth ใช้เชื่อมต่อกับ smart phone เพื่อฟังเพลงและยังสามารถฟังวิทยุได้อีกด้วย เรียกว่าประโยชน์ใช้สอยคุ้มค่าและมีการเชื่อมต่อที่หลากหลายจริงๆครับ

http://goo.gl/xaT2hz

     ในกล่อง Onkyo HT-S3700 จะมีลำโพงมาให้ 5 ตัว ประกอบด้วยลำโพงคู่หน้า ลำโพงเซ็นเตอร์ ลำโพงเซอร์ราว และ อีก 1 ซับวูฟเฟอร์ รวมถึงสายลำโพงที่แถมมาให้พร้อมใช้งานอีกด้วย

http://goo.gl/xaT2hz

     รีโมทของ Onkyo HT-S3700 มีฟังชันก์ให้ใช้มากมายอาจจะดูกดยากไปสักนิดนึงแต่ว่าพอใช้จริงๆก็ใช้ไม่กี่ปุ่ม ดังนั้นถึงไม่ต้องไปกังวลกับความซับซ้อนของรีโมทเลยครับ

     ในเรื่องของเสียงที่ได้ Onkyo HT-S3700 ก็ถือว่า อยู่ในระดับที่คุ้มค่าคุ้มราคากับค่าตัว ให้เสียงที่ดังเกินขนาดลำโพงและบรรยากาศรายล้อมเพียงพอต่อการใช้งานในห้องเล็กๆหรือคอนโดมิเนียมได้เป็นอย่างดี เห็นเล็กๆแบบนี้เสียงดังเอาเรื่องถึงขั้นคนชั้นอื่นโทรมาด่าได้เลยนะครับถ้าเปิดดังมากๆ

     เจ้า Onkyo HT-S3700 เป็นชุดโฮมเธียเตอร์ที่คุ้มค่าคุ้มราคาในระดับราคาหมื่นต้นๆและได้ของครบๆจบในงบน้อยๆสบายกระเป๋า จะดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ฟังวิทยุ ก็สามารถทำได้เป็นอย่างดีแถมยังมีฟังก์ชั่นบลูทูธมาให้ใช้งานอีกต่างหาก สะดวกสบายทั้งการใช้งานและเงินในกระเป๋าด้วยครับ

http://goo.gl/xaT2hz

0 comments :

[Knowledge] มาทำความรู้จักวัสดุที่ใช้ทำกรวยลำโพงกันดีกว่า

 

     ผมเชื่อว่าหลายท่านต้องเคยสงสัยเวลาเลือกทำโพงคู่ใจสักคู่นึงว่าเราจะรู้ได้อย่างไรและลำโพงแต่ละคู่มีแนวเสียงอย่างไร อะไรที่จะบอกเราเบื้องต้นได้ สิ่งนั้นคือวัสดุที่ใช้ทำกรวยลำโพงนั่นเองครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปรู้จักวัสดุที่ใช้ทำกรวยลำโพงในแต่ละชนิดว่ามีเสียงแตกต่างกันอย่างไร

     ดอกลำโพงแต่ละดอกจะมีบุคลิกเสียงแบบไหนอย่างไร วัสดุที่ใช้ทำกรวยลำโพงถือเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ บุคลิกเสียงจะโดนเด่นออกไปทางโทนเสียงใดก็ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำกรวยลำโพงนี่แหละครับ วัสดุที่ใช้แต่ละชนิดมีการให้ตัว เคลื่อนที่ ยืดหยุ่นต่างกัน ดังนั้นจึงให้เสียงที่ต่างกันด้วยเราไปดูกันดีกว่าว่าวัสดุแบบไหนจะให้เสียงอย่างไร

กรวยกระดาษ (Paper Cone)

 
Sonus Faber ตัวนี้เป็นกระดาษผสม

      ฟังไม่ผิดหรอกครับมันทำมากจากกระดาษจริงๆ กรวยกระดาษนี่มีใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่ เรียกได้ว่าเป็นวัสดุยอดฮิตในการทำกรวยลำโพงมาทุกสมัยจริงๆ ด้วยข้อดีที่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักที่เบา คงรูปได้ดี มีความเพี้ยนต่ำอีกทั้งยังให้เสียงที่เป็นธรรมชาติอีกด้วย ส่วนข้อเสียก็คงจะเป็นเรื่องความทนทานที่ไม่เท่าวัสดุสังเคราะห์แน่ๆ จึงมีการคิดค้นน้ำยาต่างๆเพื่อมาเคลือบปกป้องกรวยลำโพงกระดาษกัน และเสียงก็จะเปลี่ยนไปตามน้ำยาที่เคลือบด้วย

กรวยลำโพงโพลีโพรไพลีน (Polypropylene cone speaker)


NHT กับกรวยแบบ Polypropylene(สีดำ) และ อลูมินั่ม (สีเงิน)

     เป็นวัสดุสังเคราะห์จำพวกพลาสติก รวบรวมข้อดีของวัสดุอื่นๆมาไว้ด้วยกัน ขึ้นรูปได้ง่าย มีน้ำหนักที่เบาทำให้ขับได้ง่ายไม่กินวัตต์ บุคลิกเสียงของกรวยลำโพงประเภทนี้ไม่สามารถบ่งบอกได้โดยเฉพาะเพราะว่าขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต PP ว่าจะนำสารอะไรไปผสมบ้าง แต่โดยรวมแล้วมักจะให้เสียงโดยรวมที่สมดุล ทำแรงปะทะได้ดี เก็บตัวดี แต่อาจจะให้เสียงที่ไม่เป็นธรรมชาตินักเมื่อเทียบกับกรวยกระดาษ และไม่ทนต่อภาวะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เพราะจะทำให้กรวยลำโพงเสียรูปได้ แต่วัสดุประเภทนี้จะพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆตามยุคสมัย ก็จะสามารถขจัดปัญหาที่มีออกไปเรื่อยๆได้
    
กรวยลำโพงอะลูมินั่ม (Aluminum cone speaker)


ถ้าพูดถึงกรวยอลูมินั่มแล้วก็ต้องมี Klipsch เป็นหนึ่งในนั้นอย่างแน่นอน
      วัสดุอลูมินั่ม บุคลิกเสียงจะให้เสียงที่กระชับเก็บตัวดี จังหวะจะแจ้งดี ให้เสียงที่ก้องกังวารใส เรียกว่าถ้าได้แอมป์ดีๆก็จะสามารถควบคุมลำโพงได้ดั่งใจเนื่องจากสามารถรองรับกำลังขับได้สูง แต่ถ้าแอมป์ที่ไม่มีเรี่ยวแรงเสียงก็จะเฉื่อยๆและจะเก็บตัวได้ไม่ดีนัก ข้อดีก็คือมีความแข็งแรงและความทนทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงสูง ข้อเสียก็คือการผลิตที่ยากเนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต

กรวยลำโพงเคฟล่าร์ (Kevlar cone speaker)

ถ้าพูดถึงกรวยเคฟลาร์แล้วจะก็ชื่อ B&W ลอยมาก่อนแน่นอน
     เป็นวัสดุประเภทใยสังเคราะห์อาบน้ำยาพิเศษ ที่พบเห็นส่วนมากก็จะเป็นสีเหลืองอย่างลำโพงของ B&W หรือสีดำ มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นดี และคงทนมาก ให้บุคลิกเสียงที่เสียงลื่นไหลต่อเนื่อง เก็บรายละเอียดเล็กๆได้ดี แต่อาจจะขาดเรื่องแรงปะทะเสียงเบสและเสียงกลางไปสักนิดนึง (แต่ไม่เสมอไปนะครับ) เหมาะสำหรับฟังเพลสบายๆไม่ว่าจะเป็น Bossanova Jazz Acoustic และส่วนมากเป็นดอกลำโพงที่ไม่กินวัตต์ 

http://smarturl.it/partch

กรวยลำโพงวัสดุผสม (Composites cone speaker)
 
      ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตมีการพัฒนาไปเรื่อยๆจึงมีการนำวัสดุต่างชนิดมาผสมผสานขึ้นรูปผลิตกรวยลำโพง ซึ่งกรวยลำโพงประเภทนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อเสียของกรวยลำโพงแบบต่างๆ ไม่สามารถบอกบุคลิกเฉพาะตัวได้ และส่วนมากมีราคาสูง แนะนำให้ไปฟังเองจะดีกว่า


     เป็นยังไงบ้างครับรู้จักวัสดุทำกรวยลำโพงกันไปบ้างแล้ว ที่จริงยังมีอีกหลายชนิดมากๆที่นำมาทำกรวยลำโพงกันแต่ว่าวัสดุชนิดที่กล่าวข้างต้นเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมและเราเห็นกันบ่อยๆกันเองครับ ซึ่งถ้าเข้าใจคุณสมบัติเฉพาะตัวของวัสดุแต่ละประเภทแล้วละก็ ท่านก็คงจะพอเดาแนวเสียงของลำโพงแต่ละคู่ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่เห็นจะเป็นเหมือนอย่างเสียงที่ได้ยินเนื่องจากวัสดุศาสตร์พัฒนาไปทุกวัน และยังมีองค์ประกอบอื่นอีกทั้งการออกแบบตู้ลำโพง หรือการเลือกจับคู่กับแอมป์เพื่อให้ได้เสียงที่เราชอบ สุดท้ายแล้วก็ขอแนะนำว่าถ้าต้องการหาซื้อลำโพงสักคู่นึง ยังไงก็ควรจะไปลองฟังดูเองนะครับ

"หูเค้าไม่ใช่หูเรา เค้าชอบเราอาจจะไม่ชอบก็ได้" 

Irene Audio
Line: cchalerm

www.ireneaudio.comhttp://line.me/ti/p/WkEwlLUmW_www.ireneaudio.com/shop

smarturl.it/partch

0 comments :

[Knowledge] มารู้จักแอมป์แต่ละคลาสกันเถอะ Class A, B, AB, D มันคืออะไรกันน้อ


     กลับมาพบกันอีกแล้วนะครับ หลังจากที่เผยแพร่บทความ "มาเรียนวิธีอ่านสเปคลำโพงแบบเข้าใจง่ายๆกันดีกว่า" ก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีมากมาย มีผู้อ่านจนถึงตอนนี้จะหมื่นคนแล้วจึงทำให้มีกำลังใจจะเขียนบทความดีๆออกมาให้ได้อ่านกันอีกเรื่อยๆ

     ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงคลาสของแอมป์กันว่าที่คุณผู้อ่านเคยเห็น แอมป์คลาส A, B, A/B, D และอื่นๆ มันคืออะไรและมันมีข้อดีในแต่ละคลาสอย่างไร เพื่อความเข้าใจง่ายๆผมจะพูดถึงแค่ 4 คลาสเท่านั้นพอ เนื่องจากในวงการเครื่องเสียงของเรามักจะเจอกันแค่นี้แหละ 4 คลาสหลักๆ (เอาจริงๆแล้วมีแต่ A, B, A/B ซะส่วนมากด้วยซ้ำในวงการ Hiend) เพื่อไม่ให้การเสียเวลาเราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ


Class A 

     ภาคขยายของวงจรแบบ Class A นั้น จะมีการจ่ายกระแสให้กับทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลาถึงแม้ว่าจะไม่มีสัญญาณ input เข้ามาเลยก็ตาม การที่มีกระแสไฟไหลผ่านทรานซิสเตอร์ในปริมาณสูงตลอดเวลาจึงทำให้แอมป์ชนิดนี้มีความร้อนมาก (หลักการเดียวกับเตารีดเลย เปิดไฟทิ้งไว้ตลอดเวลา) ข้อดีของวงจร Class A นั้นก็คือทำให้มีค่าความเพี้ยนต่ำกว่าวงจรชนิดอื่นๆ มีความต่อเนื่องลื่นไหลเนื่องจากว่ามีกระแสไฟพร้อมให้ใช้งานได้ตลอดเวลา ส่วนข้อเสียก็คือแอมป์ Class A นั้น มีการสูญเสียทางไฟฟ้าเกิดขึ้นจำนวนมากเนื่องจากต้องจ่ายไฟแบบเต็มกำลังทิ้งไว้ตลอดเวลานั่นเองและให้กำลังขับได้ไม่สูงนัก เพราะถ้าทำแอมป์ Class A ที่มีกำลังขับสูงมากๆนั้นจะต้องใช้หม้อแปลงขนาดใหญ่มากๆ และแผงระบายความร้อนขนาดใหญ่ ก็จะทำให้แอมป์มีขนาดที่ใหญ่มากและมีน้ำหนักมากตามไปด้วย

     อ่านมาถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าบางคนก็ยังงงกับการทำงานแบบ Class A อยู่ การจ่ายไฟแบบ Class A นั้นเปรียบได้เสมือนกับการล้างจานและเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ตลอดเวลา เมื่อใดที่คุณจะล้างจานคุณก็จะมีน้ำให้ใช้ได้อย่างทันท่วงที แต่ในขณะที่คุณไม่ได้ใช้น้ำ น้ำก็จะถูกเปิดทิ้งไปอย่างสิ้นเปลืองนั่นเอง


 Class B

     ภาคขยายของวงจรแบบ Class B นั้นเรียกได้ว่าแตกต่างจาก Class A อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากการทำงานของ Class B นั้น จะทำงานก็ต่อเมื่อมีสัญญาณ input เข้ามา วงจรถึงจะทำการขยายสัญญาณ แอมป์ชนิดนี้ข้อดีคือทำกำลังขยายได้สูง มีการสูญเสียน้อยมาก ส่วนข้อเสียน่ะเหรอ การทำงานของ Class B ทำให้มีความเพี้ยนเกิดขึ้นสูงมาก และเสียงที่ได้ไม่มีคณภาพเอาซะเลย ตอนนี้ไม่น่าจะมีใช้ทำแอมป์คลาส B ออกมาใช้แล้ว ยกเว้นงานเฉพาะทางจริงๆ

     แอมป์ Class B เปรียบเสมือนการล้างจาน แล้วเปิดก๊อกเมื่อต้องการใช้น้ำ พอใช้เสร็จก็ปิดน้ำ มาถูจานด้วยฟ้องน้ำต่อ พอจะล้างอีกทีก็ไปเปิดน้ำใหม่ ทำให้การทำงานเป็นไปได้ช้าและไม่ต่อเนื่อง เสียงที่ได้ก็เป็นแบบนี้แหละ

http://smarturl.it/partch

 Class A/B

     แอมป์ Class A/B เป็นการผสมผสานระหว่างข้อดีของ Class A กับ Class B เข้าด้วยกัน คือการปล่อยกระแสไหลผ่านทรานซิสเตอร์ไว้ตลอดเวลาเพียงเล็กน้อย และจ่ายกระแสเต็มที่เมื่อมีสัญญาณ input เข้ามา ประโยชน์ของการทำแบบนี้จะทำให้ สัญญาณ input ที่มีขนาดเล็กสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องเพราะกระแสไฟปริมาณน้อยถูกปล่อยทิ้งไว้ในวงจรบางส่วนตลอดเวลานั่นเอง (จริงๆมันซับซ้อนกว่านี้นะแต่โดยหลักการทำงานก็ประมาณนี้แหละครับ)

     ข้อดีของแอมป์ชนิดนี้มีมากมายเหลือเกินทั้งให้เสียงที่ดีเลยทีเดียว ถึงแม้จะไม่เท่า Class A แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าดีทีเดียว และยังทำกำลังขับได้สูงกว่าเกิดความร้อนและการสูญเสียทางไฟฟ้าน้อยกว่า Class A อีกด้วย แอมป์ Class A/B น่าจะเป็นภาคขยายที่ได้รับความนิยมที่สุดทั้งในคุณภาพเสียงและงบประมาณอยู่ในระดับที่จะทำให้ถูกหรือจะทำแพงๆก็ทำได้ทั้งนั้น

     แอมป์ Class A/B เปรียบเสมือนการล้างจาน แล้วเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้เบาๆ เมื่อมีจุดที่ต้องล้างเล็กๆน้อยๆก็สามารถใช้น้ำได้ทันที

Class D

     มาถึงอันสุดท้ายที่จะพูดถึงคือแอมป์ Class D นั่นเองเนื่องจากมันไม่ค่อยนิยมในหมู่นักเล่น Audiophile นักและในหลักการก็ยากเกินไปที่จะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆด้วย ก็จะพูดคร่าวๆแล้วกันนะครับ
   
     แอมป์ Class D นั่น มีการทำงานคล้ายๆ Class B นั่นคือการเปิด-ปิด กระแสเมื่อมีสัญญาณ Input เข้ามาแต่ทฤษฎีและการออกแบบนั้นต่างกันสิ้นเชิง แอมป์ Class D นั้นส่วนมากจะใช้ Switching Power Supply เป็นแหล่งจ่ายไฟแทนที่ของหม้อแปลง และใช้การขยายสัญญาณแบบ PWM (Pulse Width Modulate) ทำให้แอมป์มีขนาดเล็ก และมีกำลังขับที่สูงมาก เมื่อเทียบกับขนาดของแอมป์ และมีความร้อนสะสมน้อย แอมป์ Class D เป็นแอมป์ที่มักจะเน้นไปในเรื่องของพละกำลังแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่จึงนำมาทำเป็นแอมป์ขับซับวูฟเฟอร์ หรือ แอมป์ตัวเล็กๆที่ต้องการพละกำลังสูงๆ แรงๆ หนักๆ แต่เพียงอย่างเดียว ส่วนคุณภาพเสียงน่ะเหรอ ลืมไปได้เลย

     แอมป์ Class D เปรียบเสมือนการล้างจาน แล้วเปิดก๊อกน้ำปิดอย่างรวดเร็วรัวๆสลับไปมาต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้ใช้น้ำได้อย่างประหยัดคุ้มค่า แต่ก็ไม่ต่อเนื่องนั่นเองครับ (จริงๆมันยากกว่านี้เยอะนะครับเปรียบเทียบแบบนี้อาจจะไม่ตรงเท่าไร แต่ถ้าให้อธิบายให้ถูกต้องมันก็จะไม่ง่ายแล้วหละครับ)

     แอมป์ Hi-end Class D ที่ผมนึกออกตอนนี้คือ Jeff Rowland 102 D เห็นในภาพนี่เหมือนตัวใหญ่นะครับ ตัวจริงพกใส่เป้สะพายหลังได้สบายๆเลย (เห็นเล็กๆแบบนี้แสนกว่าบาทนะคร้าบ)


     ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความแอมป์ Class A จะเป็นแอมป์ที่ดีที่สุด ถ้าเอาแอมป์ Class A ไปฟังเพลงหวานๆ นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องและเป็นแนวทางของมัน แต่หากคุณเอาไปฟังเพลงฮิพฮ็อพคุณก็จะได้เสียงที่หย่อนยาน ช้าๆเนิบๆ ซึ่งมันก็จะกลายเป็นแอมป์ที่แย่มากๆ เพราะฉะนั้นเลือกแนวเพลงที่ตัวเองชอบฟังก่อนเลือกประเภทของแอมป์เสมอนะครับ ซื้อตามคนอื่นไม่ได้แปลว่ามันจะดีสำหรับเรา วันนี้ก็ขอลาไปเท่านี้ครับแล้วพบกันใหม่สวัสดีครับ

Irene Audio
Line: cchalerm

www.ireneaudio.comhttp://line.me/ti/p/WkEwlLUmW_www.ireneaudio.com/shop

smarturl.it/partch

0 comments :

[Knowledge] มาเรียนวิธีอ่านสเปคลำโพงแบบเข้าใจง่ายๆกันดีกว่า


     สวัสดีครับ ขออภัยที่หายไปหลายวันเนื่องจากงานเข้าหนักมากเลยไม่มีเวลามาเขียนบทความให้อ่านกัน วันนี้ไม่ได้มากับรีวิวแต่จะเอาวิธีอ่านสเปคลำโพงกันแบบง่ายๆระดับเบื้องต้น เอาแค่รู้ว่าค่าแต่ละอย่างคืออะไร Power, Sensitivity, Impedance เดี๋ยววันนี้จะมาอธิบายให้ฟังกันเป็นภาษาชาวบ้านที่เราพูดๆกันดีกว่า เพราะถ้าให้ร่ายยาวภาษาวิชาการผมว่าจะพาให้ไม่เข้าใจกันไปอีกเนอะ

     ลำโพงตัวที่ผมหยิบมาเป็นตัวอย่างวันนี้ ไม่ใช่ลำโพงใหม่หน้าไหนแต่เป็นลำโพงเล็กๆที่หลายคนคงเคยได้เห็นได้ลองฟังกันมาพอสมควรแล้วนั่นก็คือเข้า NHT Absolute Zero ตัวนี้นี่เอง หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมผมถึงเลือกลำโพงตัวนี้มาเป็นตัวอย่าง เพราะเจ้าลำโพงตัวนี้มีความพิเศษไม่เหมือนชาวบ้านอยู่นี่เองครับ

System type
Bookshelf Speaker

Configuration 
2-way, acoustic suspension design
Woofer - 1 x 5.25” polypropylene woofers
Tweeter – 1x 1” aluminum dome tweeter

Cabinet Material
25 mm MDF baffle, all other panels and internal braces 12 mm


Finish
High Gloss Black/White

Power Handling
100W


Frequency Response
71Hz-20kHz


Crossover Frequency
--, 3 kHz 


Sensitivity
86dB

Impedance
6 Ohms



1. System type
Bookshelf Speaker

     เริ่มที่ตัวแรกอันนี้ง่ายๆเลย ก็คือลำโพงตัวนี้เป็นลำโพงประเภท ลำโพงวางหิ้ง ในประเภทอื่นๆก็จะเป็น Floor Standing (ลำโพงตั้งพื้น) หรือ Center Channel (ลำโพงเซ็นเตอร์) นั่นเองครับ

2. Configuration 
2-way, acoustic suspension design
Woofer - 1 x 5.25” polypropylene woofers
Tweeter – 1x 1” aluminum dome tweeter

ถัดมาคือลำโพงตัวนี้มีดอกลำโพงสองดอกคือ
1. ดอก Woofer ขนาด 5.25 นิ้วกรวยลำโพงทำจากวัสดุประเภท polopropylene หรือที่เราเรียกกันว่าพลาสติก pp นั่นเองครับ
2. ดอก Tweeter ขนาด 1 นิ้ว กรวยลำโพงทำจากวัสดุประเภท อลูมินั่ม

3. Cabinet Material
25 mm MDF baffle, all other panels and internal braces 12 mm


     ตัวตู้ลำโพงทำจากไม้ MDF ขนาด 25 มม. ส่วน Panel ชิ้นส่วนข้างในมีความหนา 12 มม. (ส่วนมากลำโพงไม่ค่อยมีใครทำจากไม้จริงนะครับ เพราะว่าเนื้อมันยืดหดไม่เท่ากัน ทำให้เสียงสองข้างไม่เท่ากันครับ)

4. Finish
High Gloss Black/White

     วัสดุปิดผิวตู้ลำโพง ลำโพง NHT Abosolute Zero นี้ใช้วิธีทำสี High Gloss ถ้าเป็นลำโพงทั่วๆไปสีไม้ที่เราเห็นก็จะเป็น Veneer แปะผิว

5. Power Handling
100W


     มาถึงตัวสำคัญที่หลายคนสงสัยว่าทำไมลำโพงมีเขียนวัตต์ไว้ข้างหลังลำโพงด้วย (อ่านถึงตรงนี้แล้วเดินไปดูลำโพงตัวเองเลยครับ) เจ้าตัวเลขตัวนี้คือ กำลังที่เหมาะสมในการขับลำโพงตัวนี้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง จุดนี้มีคำถามว่า "แอมป์ผม 100 วัตต์ ลำโพงตัวนี้ Power Handling 100 วัตต์ ขับได้มั้ย" มาดูคำตอบแบบง่ายๆกันครับ อ่านให้เข้าใจทีเดียวจำได้ตลอดชีวิตครับไม่ต้องท่อง

     ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับรถยนต์ โดยให้กำลังขับของแอมป์เป็นความเร็วสูงสุดที่รถยนต์วิ่งได้ ส่วน Power Handling ของลำโพงเป็นความเร็วที่ต้องการ

     รถยนต์มี Top Speed = 100km/h ถามว่าจะให้รถคันนี้วิ่ง 100km/h ยาวๆแช่นานๆเป็นชั่วโมงได้มั้ยครับ?

     คำตอบคือไม่ได้จริงมั้ยครับ จริงอยู่ว่าอาจจะวิ่งขึ้นไปถึง 100 km/h ได้แต่ก็ต้องเค้นกันออกมาสุดๆ กดคันเร่งมิด เข็มวัดรอบลากขึ้นไปเรดไลน์ สิ่งที่ตามมาคือพังครับ แล้วเราควรจะทำยังไงดีล่ะ คำตอบคือเปลี่ยนรถครับ

     รถยนต์มี Top Speed = 200km/h ถามว่าจะให้รถคันนี้วิ่ง 100km/h ยาวๆแช่นานๆได้มั้ยครับ?

     เห็นภาพเลยใช่ไหครับ แอมป์กับลำโพงก็เช่นกัน แอมป์กำลังขับเพียง 50 วัตต์ก็สามารถขับลำโพง 100 วัตต์ได้ เพียงแต่ว่าเราไม่ได้ประสิทธิภาพที่แท้จริงของลำโพงออกมานั่นเอง เพราะสิ่งที่แอมป์กระทำกับลำโพงนั่นคือการทำให้ลำโพงขยับตามต้องการ ด้วยการฉุดกระชากลากถู สั่นหยุดๆสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว

     ก็เปรียบได้ดั่งรถแรงม้าสูง จะกด จะกระชาก จะเบรค มันก็สั่งได้ดั่งใจ แต่ถ้าเป็นรถแรงม้าน้อย เหยีบก็ไม่วิ่ง จะเร่งก็ไม่ไป จะหยุดเบรคก็ไม่ค่อยจะดี ก็เป็นเช่นนี้แหละครับ

     คำถามยอดฮิต แอมป์ตัวนี้ขับลำโพงตัวนี้ไหวมั้ย เดินไปดูกำลังขับเทียบกันเลยครับแล้วนึกภาพตามสิ่งที่ผมบรรยายไปเมื่อกี๊ ท่านจะได้คำตอบขึ้นมาอย่างชัดแจ้งเลยทีเดียว

http://smarturl.it/partch


6. Frequency Response
71Hz-20kHz


     ค่านี้ก็ง่ายๆไม่มีอะไรครับ บอกว่าลำโพงตัวนี้ตอบสนองความถี่ได้ ต่ำได้ต่ำสุด 71Hz สูงสุดที่ 20 KHz

7. Crossover Frequency
--, 3 kHz 


     Crossover ก็คือจุดตัดความถี่นั่นเองครับแปลว่า ความถี่ที่ต่ำกว่า 3 kHz จะถูกส่งไปออกลำโพง Woofer ส่วนความถี่ที่สูงกว่า 3 kHz จะถูกส่งออกลำโพง Tweeter

8. Sensitivity
86dB

     เป็นคำถามยอดฮิตอีกแล้วค่าความไวของลำโพง และเป็นสิ่งที่อธิบายยากมากๆเสียด้วย เรามาทำความเข้าใจพื้นฐานกันก่อนเลยครับ

     Sensitivity 86dB หมายถึง เมื่อเราจ่ายไฟ 1W ที่ความถี่ 1kHz ให้กับลำโพงดอกนี้ ที่ระยะห่าง 1 เมตร เราจะได้ยินเสียงดัง 86 เดซิเบล

     แล้ว 86 dB กับ 89 dB ต่างกันนิดเดียว ขับยากต่างกันแค่ไหน ระดับความดังของเสียงถูกจัดอยู่ใน log scale ดังนั้นขอให้จำไว้ง่ายๆไม่ต้องไปคิดคำนวณให้ปวดหัว ตัวเลขห่างกันเพียงแค่ 3dB ดังต่างกันถึง 2 เท่าตัวเลยทีเดียว

     เห็นมั้ยครับเข้า Absolute Zero นี้ เห็นตัวเล็กๆจิ๋วๆแบบนี้ มาพร้อมกับ 100w Power Handling, Sensitivity 86 dB และยังเป็นตู้ปิด บอกได้เลยว่าโหดครับ

9. Impedance
6 Ohms

     มาถึงค่าสุดท้าย ค่านี้คือค่า Norminal Impedance โดยปกติลำโพงทั่วไปจะมีความต้านทานรวมที่ 4, 6, 8, 16 โอห์ม ยิ่งความต้านทานน้อย ยิ่งกินกระแสไฟมากเพื่อให้ได้เสียงที่ดังตามต้องการ

     เป็นยังไงครับอ่านกันมายาวนานมากวันนี้ ก็ขอให้ทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านได้เก็บไว้เป็นความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อลำโพงหรือแอมป์ให้เหมาะสมกันนะครับ จะได้ไม่เสียดายว่าซื้อแอมป์มาแล้วขับไม่ออก หรือใช้ลำโพงไม่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง วันนี้สวัสดีครับ 

Irene Audio
Line: cchalerm

www.ireneaudio.comhttp://line.me/ti/p/WkEwlLUmW_www.ireneaudio.com/shop

smarturl.it/partch

5 comments :